วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

อุปสงค์ (demand)

อุปสงค์ (demand)

ความหมายของอุปสงค์ (demand)

อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อ ณ. ระดับราคาต่างๆ เมื่อปัจจัยอื่นๆ อยู่คงที่

อุปสงค์ส่วนบุคคล คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ 

อุปสงค์ตลาด คือ การนำอุปสงค์ส่วนบุคคลมารวมไว้ด้วยกัน

 กฎของอุปสงค์ (law of demand)

กฎของอุปสงค์ คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อสินค้าของผู้บริโภค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ปัจจัยอื่นๆ อยู่คงที่ (ceteris paribus = other things being equal)

กฎของอุปสงค์ “เมื่อราคาสินค้าใดเพิ่มขึ้น กำหนดให้สิ่งอื่นๆ อยู่คงที่ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าลดลง ใน ขณะที่ราคาสินค้าลดลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้นของ 
ผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น ” 


ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกฎของอุปสงค์ 
1. แนวคิดที่มีเหตุผลของผู้บริโภค เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการซื้อสินค้านั้นของผู้บริโภคจะลดลง

2. กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ (law of marginal utility) เมื่อผู้บริโภคบริโภคสินค้าใดเพิ่มขึ้น ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นจะลดลง

3. ผลทางรายได้และผลการทดแทน ผลทางรายได้ คือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น รายได้อยู่คงที่ ผู้บริโภคซื้อสินค้าลดลง ส่วนผลทางการทดแทน คือ ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคไปซื้อสินค้าอื่นมาใช้ทดแทน

 ตาราง และลักษณะเส้นอุปสงค์ 
ตารางอุปสงค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อ

สินค้าของผู้บริโภคกับระดับราคาต่างๆ

แผนการซื้อ ระดับราคา ปริมาณความต้องการซื้อ 

เส้นอุปสงค์ ลาดลงจากซ้ายไปขวา (downward slope) หรือ มีความชันเป็นลบ (negative slope) แสดงถึงปริมาณซื้อสินค้ากับระดับราคา ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม

ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ 

ตัวแปรโดยตรง ตัวแปรโดยอ้อม

QXD = f ( PX, I, PY, T, E , NB, …)

ตัวแปรตาม หรือ

ตัวแปรผล ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ

เมื่อ QXD = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้น 

เป็นตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล

ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ แบ่งได้ดังนี้

 ราคาสินค้าชนิดนั้น (Price : PX )

กฎของอุปสงค์ แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม

ระดับรายได้ของผู้บริโภค (income : I)

รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้น แสดงว่า เป็นสินค้าปกติ (normal good) เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง

รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง แสดงว่า เป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (inferior good) เช่น บะหมี่สำเร็จรูป ข้าวไข่เจียว

ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (price of related good: PY )

ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าอีกชนิดลดลง แสดงว่า เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary good) เช่น ราคาน้ำมันกับรถยนต์

ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าอีกชนิดเพิ่มขึ้น แสดงว่า เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (substitutes good) เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ 

รสนิยมของผู้บริโภค (taste : T)

การบริโภคสินค้าของผู้บริโภค แสดงถึง รสนิยม หรือความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้น

การคาดการณ์ของผู้บริโภค (expectation : E)

การคาดการณ์ในเรื่องระดับรายได้ หรือ ระดับราคาสินค้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

 จำนวนผู้ซื้อสินค้า (number of buyers : NB)

การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร มีผลกระทบต่อปริมาณการบริโภคสินค้าใดสินค้าหนึ่งได้

QXD = f ( PX, I, PY ,T, E , NB, …) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์กับปริมาณความต้องการซื้อ

การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ และการ เปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ 

การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (a movement along the demand curve) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ เกิดจาก ราคาสินค้า มีการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ (a shift in demand curve/ a change in demand curve) คือ การเปลี่ยนแปลงระดับเส้นอุปสงค์ ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกิดจากตัวแปรอิสระที่กำหนด

อุปสงค์ โดยอ้อม มีการเปลี่ยนแปลง

 ที่มาของข้อมูล http://economicsthai.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น